วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

อสังหาฯ เลี่ยงกฎหมาย ภัยคุกคามสิ่งแวดล้อม มีวิธีการแก้ไขอย่างไร

การพัฒนาองค์กร ดี-เฮาส์ กรุ๊ป ให้ความสำคัญในตัว บุคคล ในการแสดงความคิดและให้ความสำคัญหลักประกับ องค์ความรู้ ที่บุคคลนั้นมีองค์ประกอบ วิธีการเหล่านี้ เรามีให้ศึกษา ในวิธีการ

 www.d-housegroup.com และในรายงานของ ดี-เฮาส์กรุ๊ป 

dhouse01.blogspot.com หรือ drsamaihemman.blogspot.comสังหาฯ


 เลี่ยงกฎหมาย ภัยคุกคามสิ่งแวดล้อม
      
      รายงานจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ระบุว่า จำนวนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งรายงานการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ซึ่งเป็นเงื่อนไขการอนุญาตทำโครงการให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบมีเพียงร้อยละ 10-12 เท่านั้น แถมพบไม่ทำตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระทั่งเกิดปัญหาร้องเรียนมากที่สุดในบรรดาโครงการที่ต้องทำอีไอเอ
การพัฒนาอสังหาฯ ในเขตเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา ทั้งคอนโดฯ และหมู่บ้านจัดสรรที่ผุดขึ้นราวดอกเห็ด กำลังถูกกล่าวโทษจากคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กลุ่มนักอนุรักษ์ และชาวบ้านว่า ทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนที่โครงการตั้งอยู่ เนื่องจากฝุ่นละอองจากการขนส่งดิน วัสดุก่อสร้าง มีน้ำเสียและน้ำทิ้งระบายจากโครงการ ขยะมากขึ้น
สันติ บุญประคับ รองเลขาธิการ สผ. กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์..?" เมื่อเร็วๆ นี้ว่า กฎหมายกำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอ สำหรับโครงการที่พักอาศัย อาคารริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล หรือชายหาด สำนักงาน ความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องทำอีไอเอ รวมถึงการจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เนื้อที่เกิน 100 ไร่ โรงแรมที่มีห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือพื้นที่ตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป ให้จัดทำอีไอเอ ผู้ขออนุญาตต้องเสนอรายงานต่อ สผ. หากข้อมูลครบถ้วน ส่งให้คณะกรรมการผู้ชาญการฯ หรือ คชก.พิจารณา ถ้าได้รับความเห็นชอบ หน่วยงานอนุญาตก็อนุมัติดำเนินโครงการได้
รองเลขาธิการ สผ.ระบุว่า ปัจจุบันมีโครงการเข้าข่ายต้องทำอีไอเอ และเสนอรายงานให้ สผ. มากกว่า 250 โครงการต่อปี และมีโครงการอีกมากไม่เข้าข่าย ส่วนใหญ่จะทำตามข้อกฎหมายขั้นต่ำที่สามารถทำได้ตามข้อกำหนด เช่น จำนวนที่จอดรถ พื้นที่ใช้สอยต่ออาคารรวม พบว่ามีการทำโครงการในพื้นที่ซึ่งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ใช่กิจกรรมหลัก ตามกฎกระทรวงให้ใช้ผังเมืองรวม ทำให้บริเวณนั้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเกินไป ส่วนโครงการที่อนุมัติแล้วเสนอรายงานติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในปี 2552 เพียงร้อยละ 10-12 ทั้งยังพบมีการไม่ทำตามมาตรการหรือทำไม่ครบที่กำหนดไว้ในรายงาน ซึ่งทำให้เกิดมลพิษและปัญหาร้องเรียนมากขึ้น ทั้งช่วงก่อสร้างและดำเนินการ อาคารสูงบางแห่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง แล้วมายื่นเสนอรายงาน อีไอเอ สผ.ส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความ ผลคือให้หยุดก่อสร้าง เจ้าของโครงการบางรายรายงานยังไม่ผ่าน แต่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ก็เกิดปัญหา
แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว สันติเผยว่า เจ้าของโครงการหรือผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญทำตามมาตรการป้องกันและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ไม่ใช่มองว่าการทำอีไอเอเป็นเพียงเอกสารใช้ประกอบการขออนุญาตก่อสร้างหรือทำโครงการเท่านั้น ด้านหน่วยงานอนุญาตต้องกำกับการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่กำหนดไว้ในรายงานอย่างเคร่งครัด
"อาคารสูงๆ ทำให้เกิดผลกระทบบ้านพักอาศัยข้างๆ บดบังลม แสงแดด ทัศนียภาพ ต้องให้การชดเชย ตอนนี้ไม่มีกฎหมายกำหนด แต่ คชก.กำหนดขึ้นมาให้ผู้ประกอบการจัดทำในรายงาน เกิดเป็นข้อโต้เถียงกัน เจ้าของโครงการอยากให้ คชก.พิจารณาเฉพาะตามข้อกฎหมายที่บังคับเท่านั้น หรือกรณี คชก.กำหนดพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติม 1 คน ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ซึ่งเกินที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้ประกอบการร้องเรียนอย่างมาก ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะย่านสีลม สุขุมวิท แต่ในที่สุดก็เป็นข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน"
รองเลขาธิการ สผ.ยังกล่าวอีกว่า หนักใจโครงการที่พักอาศัยเมื่อสร้างเสร็จผู้ประกอบการโอนภาระให้นิติบุคคลส่วนกลาง แต่ระหว่างโอนได้มอบรายงานอีไอเอให้ด้วยหรือไม่ เมื่อนิติบุคคลไม่ทราบก็ไม่ปฏิบัติตามรายงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งผิดกฎหมายแล้วยังเสียเวลาเปล่าจัดทำรายงาน หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ กทม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งพบว่า การทำงานเรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดการติดตาม นอกจากนี้ นิติบุคคลบางแห่งทราบ แต่เรื่องระบบบำบัดน้ำเสียต้นทุนสูง อาจต่อท่อลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะโดยตรง เกิดท่อระบายน้ำอุดตันและน้ำเสียลงแหล่งน้ำ ชุมชนใกล้เคียงได้รับผลกระทบ ทว่าเรื่องเหล่านี้ประชาชนต้องเป็นหูเป็นตา เพราะภาครัฐดูแลไม่ทั่วถึง บุคลากรน้อย เจ้าของโครงการก็ขาดจิตสำนึก อย่างไรก็ตาม เห็นว่าจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางติดตามให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขและมาตรการลดผลกระทบที่กำหนดแนบท้ายอีไอเอ
ขณะที่ ไพโรจน์ รุ่งจินตนาการ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมการผังเมืองรักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านผังเมือง กล่าวว่า ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีความต้องการที่อยู่อาศัยสูง จึงเกิดโครงการคอนโดฯ และจัดสรรที่ดินเข้ามารองรับผู้บริโภค หากโครงการตั้งในพื้นที่ไม่เหมาะสม หรือมีแผนพัฒนาสาธารณูปโภคไม่เพียงพอจะกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
"เวลานี้อสังหาฯ นอกเขตวางผังรวมที่กระทบเยอะ อยากแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมต้องไม่ใช่พื้นที่ลุ่มต่ำ ทางน้ำไหล หรือพื้นที่เสี่ยงภัยกรณีเกิดอุทกภัย ผังเมืองไม่สนับสนุนให้พัฒนา ถ้าจะแก้ปัญหาผลกระทบจากอสังหาฯ ส่วนราชการกับภาคเอกชนต้องร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎหมายผังเมืองกำหนด เวลานี้เราผลักดันให้ อปท.พัฒนาอาคารสูง บ้านจัดสรรตามข้อกำหนดผังเมืองซึ่งวางแนวทางใช้ประโยชน์ไว้" ไพโรจน์กล่าว
อีกหน่วยงานเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คือ สำนักการโยธา กทม. ซึ่ง จุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยการสำนักการโยธา ระบุว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีอาคารกว่า 2 ล้านหน่วย อาคารขนาดใหญ่เกือบ 3,000 แห่ง โรงแรม 1,000 แห่ง อาคารพักอาศัยที่ไม่ใช่บ้าน 30,000 อาคาร ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก แต่ละปีมีผู้ประกอบการมาขออนุญาตพัฒนาโครงการ 27,000 ราย ประเด็นที่อยากให้ธุรกิจอสังหาฯ ให้ความสำคัญ เช่น การสำรวจสภาพพื้นที่ชุมชนที่อยู่รอบๆ ที่ตั้งโครงการ พบปะกับผู้นำชุมชน ข้อมูลโครงการต้องให้ชาวบ้านเข้าถึงง่าย และเป็นเอกสารข้อเท็จจริง มีจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นชุมชน แล้วก็ควรมีช่องทางให้ชาวบ้านได้ติดต่อเจ้าของโครงการ เพื่อสอบถามข้อมูลหรือแจ้งเรื่องร้องเรียนกรณีได้รับผลกระทบ ส่วนการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะมีความตื่นตัวของชาวบ้านมากขึ้น
ในเวทีดังกล่าว ผอ.สำนักการโยธายังระบุ แม้มีกฎหมายควบคุมหลายฉบับ แต่ผู้ประกอบหลบเลี่ยงตลอดเวลา ปัญหาที่พบบ่อยๆ จากการพัฒนาอสังหาฯ ระยะก่อนก่อสร้าง มีการออกแบบอาคารขัดกฎหมาย ทั้งระยะร่นอาคาร ระยะช่องเปิดของอาคารที่ว่าง แล้วยังมีที่ขัดกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ.2549 เจ้าของโครงการแจ้งพื้นที่น้อยกว่าความจริง อีกปัญหาคือขายห้องชุดก่อนได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร อ้างโครงการผ่านการศึกษาอีไอเอแล้ว นอกจากนั้น ยังพบปัญหาจราจรติดขัดเพราะไม่ทำตามแผนลดผลกระทบ มีฝุ่นละออง เสียงดัง และเกิดความสั่นสะเทือน มีการระบายน้ำจากพื้นที่โครงการลงสู่พื้นที่ข้างเคียง ปัญหาขยะจากพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งโครงการขนาดเล็กสร้างปัญหามากกว่าโครงการอสังหาฯ ขนาดใหญ่
"โครงการก่อสร้างเสร็จแล้วก็พบปัญหา ผู้ประกอบการ นิติบุคคล อาคารชุด ไม่ทำตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ระบุไว้ในรายงานอีไอเอ เกิดน้ำเสียจากโครงการ เพราะไม่เปิดเครื่องบำบัด ไม่อยากจ่ายค่าไฟฟ้า ต้นไม้ตายไม่ปลูกทดแทน หรือเปลี่ยนพื้นที่โล่งใช้ประโยชน์ด้านอื่น ทำให้พื้นที่สีเขียวลดลง แล้วยังพบอาคารโครงการบังทิศทางลม แสงแดด บ้านเรือนข้างเคียงเดือดร้อน " จุมพลเล่าถึงภาพรวมปัญหาในพื้นที่กรุงเทพฯ ยืนยันเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามอีไอเออย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมโดยรวมของชุมชนให้ดีขึ้น
ด้านตัวแทนภาคประชาชนที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เสาวลักษณ์ รุ่งเรืองธนาสกุล เธอเป็นลูกบ้านของโครงการอสังหาฯ แห่งหนึ่งย่านคลอง 3 จ.ปทุมธานี ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเสียในโครงการ และลุกขึ้นมาร้องเรียนหน่วยงานต่างๆ ให้แก้ไข ทั้งระดับท้องถิ่นและจังหวัด รวมถึงกรมควบคุมมลพิษ ล่าสุดเธอเข้าร้องเรียนวุฒิสภา
"เมื่อตรวจสอบพบกระบวนการอนุมัติอนุญาตไม่เป็นไปตามขั้นตอน โครงการนี้มีบ้านจำนวน 3,000 หลัง ทางจังหวัดอนุญาตออกใบอนุญาตดำเนินโครงการ โดยไม่มีรายงานอีไอเอประกอบ ผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้น มีน้ำเสีย ก็ไม่ใส่ใจแก้ไข ร้องเรียนหลายที่เรื่องเงียบ สุดท้ายมาร้องวุฒิสภา คณะกรรมาธิการฯ ก็ลงพื้นที่ตรวจสอบ ยังมีอีกหลายโครงการแถบนี้ที่เลี่ยงด้วยขนาดเพื่อจะไม่ต้องทำอีไอเอ" ผู้ได้รับผลกระทบ กล่าว
เสาวลักษณ์เสนอว่า นอกจากหน่วยงานผู้อนุญาตต้องตรวจสอบเอกสารของโครงการให้ครบถ้วนและดำเนินงานตามขั้นตอนที่ถูกต้องแล้ว หน่วยงานท้องถิ่นต้องติดตามข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ ด้านผู้ประกอบการควรปฏิบัติมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือ Monitoring โดยนำเสนอรายงานนี้แก่ท้องถิ่นและจังหวัด หากหน่วยงานท้องถิ่นกำกับดูแลเข้มข้น ปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเบาบางลง
ส่วน ณัฐวุฒิ ฉลาดแย้ม ชาวชุมชนเลียบคลองมอญ และเป็นสมาชิกเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคเขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ เสนอผ่านเวทีช่วงท้ายว่า ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโครงการต้องเปิดเผยรายงานอีไอเอ อาจนำไปวางไว้ในหมู่บ้าน สำนักงานเขต เพื่อให้ชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งมาตรการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโครงการ ช่วยลดการร้องเรียนระหว่างชาวบ้านกับเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานราชการได้
"ผมขอเป็นตัวแทนชุมชนคลองมอญ และชุมชนริมคลองลาดบัวขาวเรียกร้องให้ภาครัฐและเจ้าของโครงการแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองมอญ ผลจากโครงการฯ เคหะร่มเกล้า จำนวน 6,000 ห้อง ก่อนหน้านี้ก็มีบ้านเอื้ออาทรอีก 2,000 หลัง ทั้งปริมาณขยะ น้ำใช้ น้ำเสียมหาศาลในแต่ละวัน คลอง 1 คลอง 2 ต้องรับน้ำเสีย เพราะระบบบำบัดไม่เปิด อุจจาระ ปัสสาวะไหลลงคลองหมด ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก มาตรการในอีไอเอก็ดี แต่ไม่ได้กำกับและบังคับใช้ นำไปสู่การปฏิบัติจริง ผลกระทบจึงมาก ก่อนสร้างก็ไม่เคยมาพูดคุยกับชุมชนรอบๆ ตั้งขึ้นมาเกิดปัญหาใหญ่ แล้วยังสร้างปัญหาสังคมตามมา ลักขโมย ร้านคาราโอเกะ เป็นการทำลายวิถีชีวิตที่เคยปกติสุขแก่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่" เสียงสุดท้ายจากชาวบ้านในชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น